ภาษาในการสนทนา


ทุกวันนี้ นอกจากเราต้องใช้ภาษาในการสื่อสารกับคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันในชีวิตประจำวันแล้ว บางครั้งโดยการพูดคุยเราต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารกับคนอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ กัน การใช้ภาษาจะต้องพิจารณาใช้ภาษาให้เหมาะสมกับ กาลเทศะ และบุคคลตามโอกาสนั้น ๆ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นมารยาทในการสมาคมอย่างหนึ่ง ผู้ที่สามารถ ใช้ภาษาในโอกาสต่าง ๆ นั้นได้ดี ถูกต้อง สร้างความพึงพอใจแก่คนอื่น ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ในการใช้ภาษาและเป็นผู้มีวัฒนธรรมด้วย

การพูดสนทนาที่จำเป็นต้องใช้ในโอกาสต่าง ๆ มีดังนี้
๑.      การพูดขอบคุณ
ใช้ในโอกาสที่มีผู้อื่นได้ช่วยเหลือหรือมีบุญคุณแก่เรา ถือว่าเป็นมารยาทที่จะต้องแสดงความยินดีและกล่าวขอบคุณในน้ำใจของเขา คือ เป็นการแสดงออกถึงการรู้คุณผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่ควรรักษาไว้อย่างยิ่ง
 - คำว่าขอบใจ นิยมใช้พูดหรือเขียนเพื่อแสดงความขอบใจแก่คนที่มีอายุน้อยกว่าเรา เช่นพี่ขอขอบใจน้องมากที่ช่วยยกกระเป๋าให้
- คำว่าขอบคุณ นิยมใช้พูดหรือใช้เขียนเพื่อแสดงความขอบคุณสำหรับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้ที่มีอาวุโสกว่าผู้พูด เช่นผมขอขอบคุณคุณนิคมมากที่มาส่งผมที่สถานีรถไฟวันนี้
          - หากต้องการยกย่องเทิดทูนผู้ที่ตนเคารพนับถือมาก ที่ท่านกรุณาช่วยเหลือเรา หรือให้สิ่งใดแก่เราก็ควรกล่าวว่า ขอบพระคุณ เช่นลูกขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่มากที่ซื้อของมาฝาก


          - ควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ชวนฟัง สุภาพ ไม่รีบร้อนจนเกินไป
          - ควรแสดงท่าทางที่เป็นมิตร นอบน้อม มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
          - ควรพูดให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เราซาบซึ้งในพระคุณและจะพยายามหาโอกาสที่จะตอบแทน ในโอกาสต่อไป
       
- หากเป็นการกล่าวขอบคุณในนามตัวแทน หมู่คณะ ควรพูดให้ชัดเจนว่า กล่าวขอบคุณ ในนามของหมู่คณะใด เนื่องในโอกาสอะไร ขอบคุณใคร พูดให้สั้น กะทัดรัด ได้ความดี
          - โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นการขอบคุณผู้ที่เคารพนับถือ หรือผู้มีอาวุโสมากกว่าเรา 
การกล่าวขอบคุณมักจะกล่าวพร้อม ๆ กับยกมือไหว้ด้วยเสมอ

      ๒. การพูดกล่าว
     การอวยพรนับเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่ง การอวยพรนี้นอกจากจะนำมาใช้อวยพร กับคนสนิทชิดเชื้อแบบไม่เป็นทางการแล้ว บางครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องพูดอวยพรในงาน
พิธีการต่าง ๆ การพูดในพิธีการต้องเตรียมร่างคำกล่าวไว้ล่วงหน้า เลือกเฟ้นถ้อยคำสำนวน ภาษาที่ดีงามไพเราะและสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ผู้ที่จะกล่าวอวยพรได้ดี 
เหมาะสม ถูกต้อง ประทับใจคนฟังนั้นต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและฝึกฝน
บ่อย ๆ จนมีประสบการณ์การเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี จะทำให้เกิดความมั่นใจและมี
บุคลิกภาพที่ดีด้วย
     โอกาสที่จะกล่าวและเขียนอวยพรมีหลายโอกาส เช่น การอวยพรวันเกิด วันปีใหม่ 
ขึ้นบ้านใหม่ การอวยพรคู่บ่าวสาว หรือในโอกาสที่จะมีการโยกย้าย อำลาไปรับตำแหน่งใหม่ 
ฯลฯ

  ๓. การแสดงความรู้สึก
     ในชีวิตประจำวันเราอาจต้องพบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีทั้งความสุข ความเศร้า ความทุกข์ อาจจะเกิดแก่ตัวเราเองหรือเกิดกับบุคคลอื่นก็ตาม เมื่อมีบุคคลที่เรารู้จักสนิทสนมได้ประสบกับ เหตุการณ์ใด ๆ เรามักจะพูดแสดงความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงน้ำใจไมตรีอย่างหนึ่ง เช่น พูดแสดงความดีใจในความสำเร็จในอาชีพ ของเพื่อนบ้าน พูดแสดงความเสียใจที่เพื่อนบ้านสูญเสียบิดามารดา เป็นต้น
     หลักการพูดและเขียนแสดงความรู้สึก มีหลักดังนี้
     ๑. ใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาส และบุคคล
     ๒. น้ำเสียงและท่าทางเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่พูด เช่น ท่าทางและน้ำเสียงที่บอกถึง
ความยินดี หรือความเสียใจอย่างจริงใจ
     ๓. ควรพูดให้สั้น ๆ ได้ใจความดี น่าประทับใจ

-ตัวอย่างการพูดและเขียนแสดงความดีใจ เนื่องในโอกาสที่เพื่อนบ้านคนหนึ่งเปิดกิจการร้านค้าใหม่สวัสดีค่ะคุณสายใจ ดิฉันรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสมาแสดงความ ยินดีที่คุณเปิดกิจการ ร้านอาหารใหม่ในวันนี้ นับว่าเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจมากทีเดียว ดิฉันขอแสดงความ ยินดีด้วยใจจริง และขอให้กิจการร้านอาหารของคุณจงประสบ ความเจริญรุ่งเรือง ขอให้ร้านอาหารของคุณจงเป็นแหล่งขายอาหารที่มีชื่อเสียง มีลูกค้ามาอุดหนุนมาก ๆ เป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้าตลอดไปแสนนานนะคะ
-ตัวอย่างการพูดและเขียนแสดงความเสียใจ ในโอกาสที่เพื่อนคนหนึ่งสูญเสียบิดาคุณมานีครับผมทราบข่าวเกี่ยวกับคุณพ่อของคุณแล้วผมตกใจมาก ไม่นึกเลยว่าท่าน จะมาด่วนจากไปเช่นนี้ ผมรู้สึกเศร้าเสียใจมากจริง ๆ ถ้าจะมีอะไรให้ผมช่วยเหลือ ก็บอกได้เลย ผมเต็มใจช่วยจนสุดความสามารถ จะฌาปนกิจศพเมื่อไหร่ ผมจะมาร่วมพิธี อย่างแน่นอนครับ

หลักในการพูดแสดงความคิดเห็น
     ๑. การพูดติชมควรพูดด้วยเสียงสุภาพ น่าฟัง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
     ๒. ควรพูดหรือเขียนติชมอย่างมีเหตุผล บอกข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์สูงสุด
     ๓. ควรพูดแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตใจ
     ๔. ควรพูดหรือเขียนติชมด้วยความจริงใจ มีเหตุผล ไม่มีอคติ
     ๕. ควรพูดหรือเขียนติชมให้แจ่มแจ้ง ชัดเจน แยกแยะหัวข้อที่ควรแก้ไขให้เห็นชัดเจน
     ๖. ควรเขียนให้สั้น ๆ กะทัดรัด ตรงประเด็นให้เห็นข้อความที่ควรแก้ไข 
     ๗. การพูดหรือเขียนติชมใด ๆ ควรเข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูดการเขียน
นั้น ๆ 





จากแหล่งข้อมูล