การอ่าน คือ การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจถ้อยคำแต่ละคำเข้าใจวลี เข้าใจประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า เข้าใจแต่ละย่อหน้า ซึ่งรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
การสื่อสารด้วยการอ่านหนังสือทุกครั้ง ผู้อ่านจะต้องมีการตั้งจุดประสงค์การอ่านเสมอ จุดประสงค์ของการอ่านแต่ละครั้งอาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้
จุดประสงค์โดยทั่วไปของการอ่านได้แก่
1. การอ่านเพื่อจับใจความ เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ทำให้เข้าใจเรื่องได้ครบถ้วนตรงตามที่ผู้เขียนต้องการอย่างรวดเร็ว การฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายของคำและสำนวนในเรื่อง สามารถลำดับเหตุการณ์ และลำดับความคิดแยกได้ว่า ใจความใดเป็นความสำคัญและใจความใดเป็นใจความรอง
2. การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นับเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านที่พึงปฏิบัติและมีประโยชน์อย่างยิ่งแต่การที่จะเพิ่มคุณค่าและประโยชน์ให้กับ การอ่านนั้น ผู้อ่านควรจดบันทึกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน และสามารถแนะนำหนังสือที่น่าอ่านแก่ผู้อื่นได้ด้วย
3. การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือ รู้จักใคร่ครวญ พิจารณาเรื่องที่อ่านอย่างละเอียด ลึกซึ้งในด้านต่างๆเป็นการอ่าน ที่ต้องอาศัย ความสามารถในการคิดพิจารณาหาเหตุผลมาประกอบ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะด้านการอ่านขั้นสูง จึงควรฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ การอ่านอย่างมีวิจารณาญาณจะสามารถบอกจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ บอกความหมายของคำและสำนวน ในเรื่อง ที่อ่านได้ วิเคราะห์ส่วนต่าง ๆ ของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ชัดเจน อธิบายกลวิธีการเขียนได้ และบอกคุณค่าของเรื่องที่อ่านได้
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง กล่าวคือเป็นการรับรู้เรื่องราวโดยใช้สายตามองดูตัวอักษร แล้วสมองก็จะลำดับเป็นถ้อยคำ ประโยค และข้อความต่าง ๆ เกิดเป็นเรื่องราวตามความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน การอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้า และความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้ทันต่อเหตุการณ์ ฉะนั้นการอ่านจึงเป็นความจำเป็นต่อชีวิต ของทุกคนในปัจจุบัน การอ่านมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะการอ่านทำให้เราได้รับความรู้ความเพลิดเพลินมีความคิดทันโลก ทันเหตุการณ์ และเข้าสังคมได้ดีการอ่านมีความสำคัญต่อสังคม เพราะคนในสังคมจำนวนมากจะได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน และความจรรโลงใจจากการอ่าน ฉะนั้น สารที่อ่านในโอกาสสำคัญต่าง ๆ จะผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไม่ได้ เพราะมักมีผู้นำไปอ้างอิงหรือเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่เสมอ หากผิดพลาดก็จะเป็นผลเสียหายได้ นอกจากนี้เมื่อเราจะอ่านให้ผู้อื่นฟังเราก็ควรอ่านให้น่าฟังคือ
1.อ่านให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทที่อ่านนั้นครบถ้วนทั้งสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรอง ลงไป 2. อ่านให้ผู้ฟังสนใจฟังอยู่ตลอดเวลา
คุณค่าของการอ่าน
วัตถุประสงค์ในการอ่านของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป เช่น อ่านเพื่อความรู้ อ่านเพื่อให้เกิดความคิด อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน อ่านเพื่อความจรรโลงใจ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านนั้นๆ ไว้ก่อนการอ่านทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน การอ่านมีความจำเป็นต่อการศึกษาเล่าเรียน ทั้งในระบบและนอกระบบ คนที่เรียนหนังสือเก่งมักจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเก่ง เพราะการอ่านช่วยให้ได้รับความรู้และความเข้าใจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ และสามารถศึกษาต่อ
การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน
การอ่านจะดำเนินไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และองค์ประกอบที่อยู่ภายในร่างกาย การอ่านท่ามกลางบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะนำมาซึ่งประสิทธิและประสิทธิผลในการอ่าน ทั้งนี้ควรคำนึงถึง
1.การจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม สถานที่ที่เหมาะกับการอ่านควรมีความเงียบสงบ ตัดสิ่งต่างๆ ที่รบกวนสมาธิออกไป มีอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะสม มีโต๊ะที่มีความสูงพอเหมาะและเก้าอี้ที่นั่งสบายไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป
2.การจัดท่าของการอ่าน ตำแหน่งของหนังสือควรอยู่ห่างประมาณ 35-45 เซนติเมตร และหน้าหนังสือจะต้องตรงอยู่กลางสายตา ควรนั่งให้หลังตรงไม่ควรนอนอ่าน ทั้งนี้เพื่อให้สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้เกิดการตื่นตัวต่อการรับรู้ จดจำ และอ่านได้นาน
3.การจัดอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน การอ่านอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กระดาษสำหรับบันทึกดินสอ ปากกา ดินสอสี
4.การจัดเวลาที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาที่ต้องมีการทบทวนบทเรียนควรอ่านหนังสือในช่วงที่เหมาะสมคือช่วงที่ที่ไม่ดึกมาก คือ ตั้งแต่ 20.00 - 23.00 น. เนื่องจากร่างกายยังไม่อ่อนล้าเกินไปนัก หรืออ่านในตอนเช้า 5.00-6.30 น. หลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการอ่านแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 50 นาทีและให้เปลี่ยนแปลงอิริยาบถสัก 10 นาทีก่อนลงมืออ่านต่อไป
5.การเตรียมตนเอง ได้แก่ การทำจิตใจให้แจ่มใส มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ และมีสมาธิในการอ่าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีสุขภาพสายตาที่ดี ตัดปัญหารบกวนจิตใจให้หมด การแบ่งเวลาให้ถูกต้อง และมีระเบียบวินัยในชีวิตโดยให้เวลาแต่ละวันฝึกอ่านหนังสือ และพยายามฝึกทักษะใหม่ๆ ในการอ่าน เช่น ทักษะการอ่านเร็วอย่างเข้าใจ เป็นต้น
การเลือกสรรวัสดุการอ่าน
การเลือกสรรวัสดุการอ่าน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการอ่าน เช่น การอ่านเพื่อการศึกษา การอ่านเพื่อหาข้อมูลประกอบการทำงาน การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อฆ่าเวลา การรู้จักเลือกวัสดุการอ่านที่มีประโยชน์จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ตามเป้าหมาย การเลือกสรรวัสดุการอ่านมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด เช่น
1.การอ่านเพื่อความรู้ เช่น ตำราวิชาการ
2.การอ่านเพื่อความบันเทิงใจ
3.การอ่านเพื่อเป็นกำลังใจ เสริมสร้างปัญญา เช่น หนังสือจิตวิทยา หนังสือธรรมะ
4.การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เมื่อเลือกวัสดุการอ่านหรือหนังสือได้แล้ว ก็จะต้องกำหนดว่าต้องการอะไรข้อมูลในลักษณะใดจากหนังสือเล่มนั้น ขอบเขตของข้อมูลในลักษณะกว้างหรือแคบแต่ลึกซึ้ง ทั้งนี้เพื่อกำหนดรูปแบบการอ่านเพื่อความต้องการต่อไป
วิธีการอ่านที่เหมาะสม
การ อ่านมีหลายระดับและมีวิธีการต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้อ่าน และประเภทของสื่อการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเขียนรายงาน อาจใช้วิธีอ่านต่าง ๆ เช่น การอ่านสำรวจ การอ่านข้าม การอ่านผ่าน การอ่านจับประเด็น การอ่านสรุปความ และการอ่านวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.การอ่านสำรวจ คือ การอ่านข้อเขียนอย่างรวดเร็ว เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน
2.การอ่านข้าม เป็นวิธีอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น
3.การอ่านผ่าน เป็นการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียน เช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ เช่น การอ่านเพื่อค้นหาชื่อในพจนานุกรม และการอ่านแผนที่
4.การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่านข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็วๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือ ต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
5.การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี สามารถแยกส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง การอ่านสรุป ความมีสองลักษณะคือ การสรุปแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอน และสรุปจากทั้งเรื่อง หรือทั้งบท การอ่านสรุปความควรอย่างอย่างคร่าว ๆ ครั้งหนึ่งพอให้รู้เรื่อง แล้วอ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลักจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป
6.การอ่านวิเคราะห์ การอ่านเพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไปต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของ ข้อความ ทั้งนี้เพราะผู้เขียนอาจใช้คำและสำนวนภาษาในลักษณะต่าง ๆ อาจเป็นภาษาโดยตรงมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ และภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านที่มีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ ในการ อ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี
ประเภทของการอ่าน
การอ่าน เป็นวิธีสื่อสารที่เป็นได้ทั้งการส่งสารและการรับสาร การอ่านแบ่งได้เป็น 2ประเภท ดังนี้
1. การอ่านออกเสียง
การอ่านออกเสียง หมายถึงการอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียง การอ่านออกเสียงมักไม่นิยมอ่านเพื่อการรับสารโดยตรงเพียงคนเดียว เว้นแต่การอ่านบทประพันธ์เป็นท่วงทำนองเพื่อความไพเราะเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่การอ่านออกเสียงมักเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง การอ่านออกเสียงให้ผู้อื่นฟัง จะต้องอ่านให้ชัดเจน ถูกต้องได้ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ มีลีลาการอ่านที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบ การอ่านออกเสียงเป็นได้ทั้งการรับสารและการส่งสาร ส่วนการอ่านในใจจะเป็นได้เฉพาะการรับสารเพียงทางเดียวเท่านั้น
วิธีอ่านออกเสียงประกอบด้วย
1. อ่านออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน
2. อ่านเสียงดัง ฟังได้ทั่วถึง
3. อ่านให้เป็นเสียงพูดธรรมชาติ
4. รู้จักทอดจังหวะและลมหายใจ
3. อ่านให้เป็นเสียงพูดธรรมชาติ
4. รู้จักทอดจังหวะและลมหายใจ
2. การอ่านในใจ
ก ารอ่านในใจเป็นบทบาทเฉพาะตัวของบุคคล ที่มีจุดมุ่งหมายจะจับใจความอย่างรวดเร็ว คือ รู้เรื่องเร็วและถูกต้องโดยไม่ใช้อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียงเคลื่อนไหวเลย การอ่านในใจจะช่วยให้เข้าใจเนื้อความได้เร็วกว่าการอ่านออกเสียง และผู้อ่านจะรับรู้เรื่องราวเเต่เพียงผู้เดียว
วิธีอ่านในใจประกอบด้วย
วิธีอ่านในใจประกอบด้วย
1. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
2. กะช่วงสายตาให้ยาว
3. ไม่อ่านย้อนไปย้อนมา
4. ไม่ออกเสียงเวลาอ่าน
2. กะช่วงสายตาให้ยาว
3. ไม่อ่านย้อนไปย้อนมา
4. ไม่ออกเสียงเวลาอ่าน
วิธีการอ่านในใจ
1. การอ่านอย่างละเอียด เป็นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ ผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่อ่านพอสมควร ควรอ่านรายละเอียดของเรื่องตั้งเเต่ต้นจนจบ จะทำให้มองเห็นการเชื่อมโยงระหว่างใความสำคัญได้
2. ผู้อ่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการอ่าน และต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ในการอ่านผู้อ่านจะต้องจับใจความส่วนรวมให้ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร เมื่ออ่านจบควรเรียบเรียงใจความสำคัญเป็นภาษาของตนเอง
3. อ่านอย่างรวดเร็ว เป็นการอ่านที่ไม่ต้องเก็บรายละเอียด แต่อ่านเพื่อให้ทราบเรื่องราวเท่านั้น นิยมใช้อ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น อ่านนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
4. อ่านอย่างคร่าวๆ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการค้นหาคำตอบจากข้อความบางตอน การอ่านวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพิ้นฐานการอ่านที่ดีพอ
5. อ่านเพื่อวิจารณ์ ผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์เดิมของตนให้เป็นประโยชน์ เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้เขียน การเสนอข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น หรือการใช้ความหมายตรง และโดยนัย
แนวปฏิบัติในการอ่านในใจ
2. ผู้อ่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการอ่าน และต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ในการอ่านผู้อ่านจะต้องจับใจความส่วนรวมให้ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร เมื่ออ่านจบควรเรียบเรียงใจความสำคัญเป็นภาษาของตนเอง
3. อ่านอย่างรวดเร็ว เป็นการอ่านที่ไม่ต้องเก็บรายละเอียด แต่อ่านเพื่อให้ทราบเรื่องราวเท่านั้น นิยมใช้อ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น อ่านนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
4. อ่านอย่างคร่าวๆ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการค้นหาคำตอบจากข้อความบางตอน การอ่านวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพิ้นฐานการอ่านที่ดีพอ
5. อ่านเพื่อวิจารณ์ ผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์เดิมของตนให้เป็นประโยชน์ เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้เขียน การเสนอข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น หรือการใช้ความหมายตรง และโดยนัย
แนวปฏิบัติในการอ่านในใจ
การอ่านในใจต้องอาศัยความเเม่นยำในการจับตามองดูตัวหนังสือ การเคลื่อนไหวสายตา การเเบ่งช่วงวรรคตอน ซึ่งต้องฝึกให้เกิดความเเม่นยำและรวดเร็วจึงจะสามารถเก็บได้ครบทุกคำ
การอ่านในใจมีเเนวปฏิบัติ ดังนี้
1. กวาดสายตามองตัวอักษณให้ได้ช่วงประมาณ ๕-๖ คำ เป็นอย่างน้อย
2. ไม่ควรทำปากขมุบขมิบในขณะอ่าน ต้องฝึกเรื่องอัตราความเร็วของตาและสมอง
3. ไม่ควรอ่านย้อนหลังจากอ่านจบ อ่านจากซ้ายไปขวาโดยตลอด
4. ทดสอบความเข้าใจหลังจากอ่านจบ โดยใช้วิธีตั้งคำถามสรุปเรื่องราวที่อ่าน
การอ่านในใจมีเเนวปฏิบัติ ดังนี้
1. กวาดสายตามองตัวอักษณให้ได้ช่วงประมาณ ๕-๖ คำ เป็นอย่างน้อย
2. ไม่ควรทำปากขมุบขมิบในขณะอ่าน ต้องฝึกเรื่องอัตราความเร็วของตาและสมอง
3. ไม่ควรอ่านย้อนหลังจากอ่านจบ อ่านจากซ้ายไปขวาโดยตลอด
4. ทดสอบความเข้าใจหลังจากอ่านจบ โดยใช้วิธีตั้งคำถามสรุปเรื่องราวที่อ่าน
การพัฒนาการอ่านในใจ
การอ่านในใจเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกับการอ่านออกเสียง ซึ่งนักเรียนทุกคนควรฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะการอ่านหนังสือได้มาก เป็นวิธีการฝึกฝนตนเองให้อ่านได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
วิธีฝึกการอ่านในใจ มีดังนี้
1. อ่านข้อความง่ายๆ ไม่มีคำศัพท์มาก ไม่ซับซ้อน ยาวประมาณ ๑ หน้า
2. จับเวลาที่ใช้ในการอ่านข้อความนั้น
3. ตั้งคำถามเพื่อถามตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวหรือข้อความที่อ่าน
4. สำรวจตนเองว่าตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านได้มากเพียงใด
5. อ่านข้อความนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พยายามทำเวลาในการอ่านให้น้อยลง
6. ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านอีกครั้งว่าตอบได้ดีกว่าครั้งเเรกหรือไม่
1. อ่านข้อความง่ายๆ ไม่มีคำศัพท์มาก ไม่ซับซ้อน ยาวประมาณ ๑ หน้า
2. จับเวลาที่ใช้ในการอ่านข้อความนั้น
3. ตั้งคำถามเพื่อถามตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวหรือข้อความที่อ่าน
4. สำรวจตนเองว่าตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านได้มากเพียงใด
5. อ่านข้อความนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พยายามทำเวลาในการอ่านให้น้อยลง
6. ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านอีกครั้งว่าตอบได้ดีกว่าครั้งเเรกหรือไม่
ในระดับสูงได้ การอ่านมีคุณค่าต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ ยกระดับสติปัญญาให้สูงขึ้น ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดให้ก้าวหน้า ส่งผลต่อการพัฒนาในอาชีพ ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ ได้รับความรู้เพิ่ม ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยพัฒนาจิตใจให้งอกงาม ช่วยขจัดความทุกข์ ความเศร้าหมอง การอ่านทำให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้รับความเพลิดเพลินและพักผ่อนหย่อนใจ
ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง
ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง
ขั้นที่สองการอ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของคำ วลี ประโยค สรุปความได้
ขั้นที่สามการอ่านแล้วรู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้งหรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล
ขั้นสุดท้ายคือ การอ่านเพื่อนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นผู้ที่อ่านได้และอ่านเป็นจะต้องใช้กระบวนการทั้งหมดในการอ่านที่ก่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และจากการคิดที่ได้จากการอ่านผสมผสานกับประสบการณ์เดิม และสามารถความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การอ่านหนังสือก่อนสอบ
1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQและ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ
ประโยชน์ของการอ่าน
1. เป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมที่ง่าย และตรงตามความต้องการ เนื่องจากหนังสือจะแยกประเภท วิชา หมวดหมู่ไว้เรียบร้อยอยู่แล้ว และการอ่านจะช่วยให้เรารอบรู้ทันเหตุการณ์และพัฒนาด้านวิชาการ นักพูดและนักเขียนที่ประสบความสำเร็จมักเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่าน และเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ
2. เป็นการช่วยส่งเสริมความคิด ช่วยให้ได้รับรู้นานาทัศนะในสาขาวิชาต่างๆ จากทัศนะของผู้เขียนหลายๆคนในประเด็นเดียวกัน การเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญช่วยให้เกิดพัฒนาการด้านความคิดของตัวผู้อ่านเอง สามารถคิดวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และมีข้อสนับสนุนจากการอ่านเพียงพอ เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น
3. เป็นการสร้างความบันเทิง และผ่อนคลายสบายใจ เมื่อใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือประเภท นวนิยาย สารคดี การ์ตูน และยังสามารถช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย
จากแหล่งข้อมูล