เทคนิคการเขียน

ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด
 ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ

ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด
          
 ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ  

             ดังนั้นภาษาพูดและภาษาเขียน จึงมีความสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ 
และฝึกใช้ให้ถูกต้อง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
 ปัจัยที่สนับสนุนการเขียน


ปัจจัยที่จะช่วยให้เขียนได้ดีมีหลากหลายประการ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
                          1 ความรักและความสนใจ คนที่เขียนได้ดีต้องมีความรักและความสนใจ
ที่จะเขียน ไม่ย่อท้อที่จะแก้ ให้เวลาในการเขียน ปัจจัยพื้นฐานข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการเขียนอย่างยิ่ง
                          2 การอ่านและฟังมาก
ความพยายามที่จะอ่านและฟังความคิดของคนอื่นจะช่วยให้ผู้เขียนมีความคิดกว้างขวางและมีข้อมูลพอที่จะเขียนได้ โดยเฉพาะการอ่านจะช่วยให้ผู้เขียนได้แนวทางการเรียบเรียงความคิด การใช้ภาษาสำนวน การเลือกคำหรือหลักฐานประกอบการอ้างอิงหรือการดำเนินเรื่องให้น่าสนใจชวนติดตาม
                          3 การเก็บบันทึกข้อมูล นักเรียนที่ดีต้องหัดเก็บข้อมูลต่างๆไว้ รู้จักจดบันทึกถ่ายสำเนาหรือเก็บเอกสารดีๆ เพราะการนำการเขียนที่ดีมาอ้างอิงจะทำให้ข้อเขียนของตนมีน้ำหนักมีความกระจ่าง ชัดเจน น่าสนใจมากขึ้น
                          4 การสังเกตและจดจำ การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้ผู้เขียนเป็นคนละเอียดอ่อน
เข้าใจเลือกสาระและคำนำ มาเขียนให้น่าสนใจมากขึ้น เช่น สังเกตว่าข้อเขียนใดอ่านแล้วเข้าใจง่าย
ประทับใจ ชื่นชมในตัวผู้เขียน กับพยายามสังเกตและจดจำแนวการเขียนนั้นนำมาพัฒนาเป็นลักษณะการเขียนของตน
                          5 การฝึกการเขียนบ่อยๆ การเขียนบ่อยๆ จะทำให้ผู้ฝึกเขียนเกิดความชำนาญในการคิดการเรียบเรียงสาระ ถ้อยคำสำนวน และความพยายามที่จะตรวจสอบภาษาที่ใช้ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
                          6 นิสัยรักการท่องเที่ยว คนที่ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ย่อมมีประสบการณ์มาก ได้เห็นสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ทำให้เกิดความประทับใจ มีข้อมูลพอที่จะเขียนบรรยาย
                          7 ความมีมนุษยสัมพันธ์ การเขียนมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ที่ต่างฐานะ ต่างความคิด ต่างประเพณี
วัฒนธรรมกันให้ผู้นั้นเข้าใจโลก เข้าใจคน ได้เห็นสิ่งต่างๆที่เป็นบทเรียน ข้อคิด หรือเตือนใจ
ทำให้สามารถมานำเหตุการณ์ การติดต่อของมนุษย์มาเป็นข้อมูลในการเขียนได้
ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาไทย

              การศึกาษาภาษาไทย นอกจากจะศึกษาลักษณะสำคัญของภาษาแล้ว ยังต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสมหากผู้ใช้ภาษามีความรู้เรื่องการใช้ภาษาไม่ดีพอ อาจทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความผิดพลาดสื่อสารได้ไม่ตรงความต้องการ หรือสื่อึความได้แต่ไม่เหมาะสมทำให้ขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร ความผิดพลาดหรือความไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นดังกล่าวล้วนมีสาเหตุมาจากการใช้ภาษาที่บกพร่องหรือไม่คำนึงถึงการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
             ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ซึ่งเกิดจากการที่คนในสังคมช่วยกันกำหนดขึ้นดังนั้นการใช้ภาษาของมนุษย์จึงต้องอยู่ภายในระบบ อันประกอบด้วยระเบียบและกฏเกณฑ์ที่สังคมยอมรับร่วมกัน หากใช้ผิดไปจากกฏเกณฑ์ที่ยอมรับกันแล้ว อาจก่อให้เกิดความสับสนในการสื่อความหมายได้ 
ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาไทย มีดังนี้
    - การใช้ภาษาผิด
   - การใช้ภาษาไม่เหมาะสม
   - การใช้ภาษาไม่ชัดเจน
 - การใช้ภาษาไม่สละสลวย

  1. การใช้ภาษาผิด การใช้ภาษาผิด หมายถึง การใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์ 
หรือผิดความหมาย อาจเกิดจากการใช้คำผิดความหมาย ใช้คำผิดหลักไวยากรณ์ ใช้กลุ่มคำและสำนวนผิด
เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดลำดับ และประโยคไม่สมบูรณ์ ดังนี้
  1.1 ใช้คำผิดความหมาย  คือ การนำคำที่มีความหมายอย่างหนึ่ง
ไปใช้โดยต้องการให้มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากความหมาย
ที่ยอมรับกันอยู่เดิม 
   - น้ำท่วมเป็นเวลาหลายเดือน บัดนี้แผ่นดินแห้งแล้งลงแล้ว(แห้ง)
   - คลองที่ไม่จำเป็นถูกทับถมไปจนหมด(ถม)
   - วิชัยเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยสูงสิงกับใคร(สุงสิง) 
1.2 ใช้คำผิดหลักไวยากรณ์ คือ การใช้คำบุพบท สันธาน หรือ ลักษณนามผิด เช่น
  - เราแนะนำการป้องกันโรคให้กับเด็ก (แก่)
 - ในหมู่บ้านของผมมีถนนสายใหม่ๆตัดผ่านหลายทาง(สาย)
  - พระภิกษุของวัดนี้ ทุกท่านล้วนแต่มีความสงบทางจิตแล้ว(รูป)
1.3 ใช้กลุ่มคำและสำนวนผิด ได้แก่ การใช้กลุ่มคำและสำนวนผิดไปจากไวยากรณ์ 
   - เขาถูกตำรวจจับได้คาหลังคาเขา (คาหนังคาเขา ) 
   - ขอให้คู่บ่าวสาวอยู่ร่วมกันยืดยาว จนถือ ไม้เท้ายอดทองก ระบองยอดเงิน(ไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร
 - คนทำผิดมักจะแสดงอาการกินปูนร้อนท้อง ให้จับได้ ( กินปูนร้อนท้อง)

1.4 เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดลำคับ คือ การเรียงคำไม่ถูกต้องตามห ลักไวยากรณ์ เช่น
 - เขาไม่ทราบสิ่งถูกต้องว่าอย่างไร (เขาไม่ทราบว่าสิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างไร) 
 - วันนี้อาจารย์บรรยายให้ฟังวิชาต่างๆ(วันนี้อาจารย์บรรยายวิชาต่างๆให้ฟัง)
  - การสร้างสรรค์สังคมนั้น ต้องคนในสังคมร่วมมือกัน (การสร้างสรรค์สังคมนั้น  คนในสังคมต้องร่วมมือกัน)
1.5 ประโยคไม่สมบูรณ์ คือ ประโยคที่ขาดส่วนสำคัญของประโยคหรือขาดคำบางคำไปทำให้ความหมายของประโยคไม่ครบถ้วน เช่น 
- ผู้ชายที่คิดว่า ตนมีอำนาจเหนือผู้หญิง ( มักจิตใจหยาบกระด้าง)
 - ผู้มีปัญญาผ่านอุปสรรคได้โดยง่าย (ย่อม) 
 - ผู้หญิงที่คิดว่าการแต่งงานเหมือนกับการมัดตัวเอง  (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ทุ่มเทให้การทำงาน)

2. การใช้ภาษาไม่เหมาะสม การใช้ภาษาไม่เหมาะสม หมายถึง การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม
กับกาลเทศะและบุคคลและการใช้ภาษาผิดระดับ อาจเกิดการใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน ใช้คำไม่เหมาะสมกับ
ความรู้สึก ใช้คำต่างระดับและใช้ภาษาต่างประเทศปะปนในภาษาไทย ดังนี้ 
           
2.1 ใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน คือ การใช้ภาษาระดับภาษาปากหรือ ภาษาพูดปะปนกับภาษาเขียน
  - นักธุรกิจเหล่านี้ ทำยังไงถึงได้ร่ำรวยยังงี้(อย่างไร , อย่างนี้)
   - เขาได้รับคัดเลือกเป็นพนักงานดีเด่น โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ไม่ทราบล่วงหน้า)
  - ปัจจุบันนี้จังหวัดโคราช เป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา,จังหวัด )
  2.2 ใช้คำที่ไม่เหมาะแก่ความรู้สึก คือ การเลือกใช้คำที่สื่อความหมายไม่ตรงกับความรู้สึกของผู้พูดเช่น 
    - เขาดีใจที่ต้องออกไปรับรางวัล(เขาดีใจที่ได้ออกไปรับรางวัล) 
  - สุพรรณรู้สึกใจหายที่ต้องสูญเสียเพื่อนไปเสียที  (สุพรรณรู้สึกใจกายที่ต้องสูญเสียเพื่อนไป)
2.3 ใช้คำต่างระดับ คือ การนำคำที่อยู่ในระดับภาษาต่างกัน มาใช้ในประโยคเดียวกัน เช่น
 - หลวงตาที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ได้เสียชีวิตลงแล้วอ ย่างสงบ(มรณภาพ)
 - รถเมล์จอดรับผู้โดยสารตรงป้ายจอดรถประจำทาง (รถประจำทาง)
 - หล่อนเป็นหญิงที่มีความองอาจกล้าหาญไม่แพ้บุรุษ (หญิง-ชาย,สตรี,บุรุษ)
2.4 ใช้ภาษาต่างประเทศปะปนในภาษาไทย คือ การนำคำภาษาอังกฤษแบบ
"ทับศัพท์" มาใช้ปะปนในภาษาไทยซึ่งจะใช้ในภาษาพูดเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ในภาษาเขียนหรือ
ภาษาทางการและกึ่งทางการ เช่น
 - มีบริการส่งแฟ็กซ์แก่ลูกค้าฟรี(โทรสาร , โดยไม่คิดเงิน)
 - คะแนนสอบมิดเทิอมที่ผ่านมาไม่นาพอใจ(กลางภาค)
  - ไฟลท์ที่ 71 จะมาถึงเวลาประมาณ 17.30 น. (เที่ยวบิน) 

3. การใช้ภาษาไม่ชัดเจน
 การใช้ภาษาไม่ชัดเจน หมายถึง การใช้ภาษาที่ไม่สามารถสื่อความหมายที่ผู้ใช้
ต้องการได้ การใช้ภาษาไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป การใช้คำที่มี
ความหมาย ไม่เฉพาะเจาะจง การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง หรือการใช้ประโยคที่ทำให้เข้าใจได้
หลายความหมาย ดังนี้
3.1 ใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป
 - เขาถูกทำทัณฑ์บนเพราะทำความผิด (ก่อการทะเลาะวิวาท)
 - ใครๆก็อยากได้คนดีมาเป็นคู่ครอง(คนที่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว)
             
3.2 ใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
 - นานๆครั้งเขาจะไปหาครูเสมอๆ(นานๆครั้งเขาจึงไปหาครู) (เขาจะไปหาครูเสมอ)
 - นักศึกษาส่วนมากมาสายทุกคน (นักศึกษาส่วนมากมาสาย) (นักศึกษามาสายทุกคน)
  3.3 ใช้ประโยคกำกวม เช่น 
 -มีการแสดงต้นไม้ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อในวรรณคดี(มีชื่อเสียง, มีชื่อปรากฏ)
 - เขาสนิทกับน้องสาวคุณวิมลที่เป็นอาจารย์  (เขาสนิทกับอาจารย์ซึ่งเป็นน้องสาวคุณวิมล) (เขาสนิทกับน้องสาวอาจารย์วิมล)
 -ต้นเถียงกับหนุ่มอยู่ราวสองชั่วโมง ในที่สุดเขาโกรธขึ้นมา ก็กระโดดเตะอย่างแรง จนเขาหกล้มหน้าคะมำ
 (ต้นเถียงกับหนุ่มอยู่ราวสองชั่วโมง ใ นที่สุดต้นโกรธขึ้นมาก็กระโดดแต่ะหนุ่มอย่างแรงจนหนุ่มหกล้มหัวคะมำ)

4 การใช้ภาษาไม่สละสลวย
การใช้ภาษาไม่สละสลวย หมายถึง การใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารกันได้แต่เป็นภาษาที่ไม่ราบรื่น 
การใช้ภาษาไม่สละสลวย อาจเกิดจากการใช้คำฟุ่มเฟือย การใช้คำไม่คงที่การไม่ลำดับความเหมาะสม
และการใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ ดังนี้
4.1 ใช้คำฟุ่มเพือย เช่น 
 - ชายหาดวันนี้คลาคล่ำเต็มไปด้วยผู้คน (ชายหาดวันนี้คลาคคลาคล่ำไปด้วยผู้คน) (ชายหาดวันนี้เต็มไปด้วยผู้คน)
 - คนที่ยากจนขัดสนเงินทองย่อมต้องทำงานหนัก (คนยากจนย่อมต้องทำงานหนัก) (คนที่ขัดสนเงินทองย่อมต้องทำงานหนัก) - นายกรัฐมนตรีไทยต้องเปิดเผยออกมาอย่างไม่ปิดบังว่า การไปเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ยังไม่แน่นอน  (นายกรัฐมนตรีไทยต้องเปิดเผยว่า กรไปเยือนญี่ปุ่นใน ครั้งนี้ยังไม่แน่นอน) (นายกรัฐมนตรีไทยต้องไม่ปิดบังว่า การไปเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ยังไม่แน่นอน)
                                       
4.2 ใช้คำไม่คงที่ เช่น
- นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บ้างก็ต้องกลับเอง(นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บางคนต้องกลับเอง)(นักเรียนบางคนมีผู้ปกครองมารับ บ้างต้องกับเอง)
- หมอออกตรวจคนไข้ตามเตียงต่างๆ พบว่าคนป่วยมีอาการดีขึ้น(หมอออกตรวจคนไข้ตามเตียงต่างๆ พบว่าคนไข้มีอาการดีขึ้น)(หมอออกตรวจคนป่วยตามเตียงต่างๆ พบว่าคนป่วยมีอาการดีขึ้น
- ภาษาเพื่อการสื่อสาร มี 2 ประเภท คือ ภาษาเพื่อการสื่อสารทั่วไปและภาษากับการสื่อสารเฉพาะอาชีพ(ภาษาเพื่อการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ ภาษาเพื่อการสื่อสารทั่วไป และภาษากับการสื่อสาร เฉพาะอาชีพ)
4.3 ลำดับความไม่เหมาะสม เช่น
- ทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง(ทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
- ครอบครัวเขาเป็นครองครัวที่อบอุ่น อยู่พร้อมหน้ากันทั้ง พ่อ แม่ พี่ น้อง)(ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวที่อบอุ่น อยู่พร้อมหน้ากันทั้ง พ่อ แม่ พี่ น้อง)
- คุณสุดาเป็นอาจารย์อยู่โรงพยาบาลจุฬาฯ คณะแพทย์ศาสตร์(คุณสุดาเป็นอาจารย์อยู่คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ)
4.4 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ เช่น
- มันเป็นความจำเป็นที่ข้าพเจ้าต้องจากไป(ข้าพเจ้าจำเป็นต้องจากไป)- 80 กว่าชีวติต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะประสบอุทภัย(ชาวบ้านกว่า 80 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะประสบอุทกภัย)
- วันนี้เขามาในชุดสีฟ้าเข้ม(วันนี้เขาใส่ชุดสีฟ้าเข้ม)


จากแหล่งข้อมูล 
http://www.st.ac.th/bhatips/tip49/talk_write.html